เมนู

วิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วย
อำนาจของนิสสยปัจจัย มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุอาศัยรูปใดเป็นไป
รูปนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วย
มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.

9. อุปนิสสยปัจจัย


ส่วนในบทว่า อุปนิสฺสยปจฺจโย นี้ มีคำอธิบายดังต่อไปนี้
ที่ชื่อว่านิสสยะ เพราะอรรถว่า อันผลของตนเข้าไปอิงอาศัย คือไม่
ปฏิเสธผลของตน เพราะผลมีการอาศัยเหตุนั้นเป็นไป. ที่อาศัยที่มีกำลัง
มากชื่อว่า อุปนิสสัย เหมือนความทุกข์ใจอย่างหนัก ชื่อว่า อุปายาส
ฉะนั้น. คำนี้เป็นชื่อของเหตุที่มีกำลัง.
เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความ
เป็นเหตุมีกำลัง ชื่อว่า
อุปนิสสยปัจจัย
อุปนิสสยปัจจัยมี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูป-
นิสสยะและปกตูปนิสสยะ.

บรรดาอุปนิสสัย 3 อย่างนั้น อารัมมณูปนิสสยะ ทรงจำแนกไว้ไม่
ต่างกันเลยกับอารัมมณาธิปติ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า บุคคลให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ย่อมพิจารณากรรมนั้นให้หนัก ย่อมพิจารณา
กรรมที่เคยสร้างสมมาให้หนัก ออกจากฌานแล้ว ย่อมพิจารณาฌานให้
หนัก. พระเสขะย่อมพิจารณาโคตรภูให้หนัก ย่อมพิจารณาโวทานให้
หนัก พระเสขะออกจากมรรคแล้ว ย่อมพิจารณามรรคให้หนัก. บรรดา

กุศลธรรมมีการให้ทานเป็นต้นนั้น ธรรมคือจิตและเจตสิกทำอารมณ์ใด
ให้หนักเกิดขึ้น อารมณ์นั้นจัดว่าเป็นอารมณ์ที่มีกำลังในบรรดาอารมณ์
ทั้งหลายสำหรับจิตและเจตสิกเหล่านั้น โดยการกำหนดที่แน่นอน ผู้ศึกษา
พึงทราบความต่างกันแห่งอารัมมณาธิปติกับอารัมมณูปนิสสยะ อย่างนี้.
ชื่อว่า อารัมมณาธิปติ เพราะอรรถว่า เพียงเป็นธรรมที่จิตและ
เจตสิกพึงทำให้หนัก ชื่อว่า อารัมมณูปนิสสยะ เพราะอรรถว่า เป็น
เหตุให้จิตและเจตสิกมีกำลัง.

แม้ อนันตรูปนิสสยะ ก็ทรงจำแนกไว้ไม่ต่างกันกับอนันตรปัจจัย
โดยนัยเป็นต้นว่า กุศลขันธ์ทั้งหลาย ซึ่งเกิดขึ้นก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศล
ขันธ์ที่เกิดขึ้นหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย แต่ในนิกเขปแห่ง
มาติกามีการตั้งปัจจัยทั้งสองนั้นแปลกกัน เพราะ อนันตรปัจจัย มาแล้วโดย
นัยเป็นต้นว่า จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุ
นั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุและธรรมที่สหรคตด้วยมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจ
ของอนันตรปัจจัย และ อุปนิสสยปัจจัย มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า กุศล-
ธรรมที่เกิดขึ้นก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย. แม้นิกเขปแห่งมาติกานั้น เมื่อว่าโดยใจความ (อรรถ)
แล้ว ก็เป็นอันเดียวกัน. แม้เช่นนั้น ผู้ศึกษาก็พึงทราบว่า ชื่อว่า อนันตร-
ปัจจัย
เพราะสามารถให้จิตตุปบาทที่เหมาะสมเกิดขึ้นในลำดับของตน ๆ
และชื่อว่า อนันตรรูปนิสสยปัจจัย เพราะจิตที่เกิดก่อนมีกำลังในอันให้จิต
ดวงหลังเกิดขึ้น. เหมือนอย่างว่า ในเหตุปัจจัยเป็นต้น แม้เว้นธรรมบาง
อย่างเสียจิตก็ย่อมเกิดขึ้นได้ ฉันใด เว้นจิตที่ติดต่อกันแห่งตนเสีย จิตจะ
เกิดขึ้นได้ย่อมไม่มี ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นปัจจัยมีกำลัง.

พึงทราบความต่างกันแห่งอนันตรปัจจัย กับอนันตรูปนิสสย-
ปัจจัยทั้งสองนั้นอย่างนี้ ชื่อว่า อนันตรปัจจัย ด้วยอำนาจการยังจิต
ที่เหมาะสมให้เกิดขึ้นในลำดับของตน ๆ ชื่อว่า อนันตรรูปนิสสยปัจจัย
ด้วยอำนาจเป็นเหตุที่มีกำลัง ด้วยประการฉะนี้.

ส่วน ปกตูปนิสสยะ มีอธิบายดังต่อไปนี้ อุปนิสสัยที่บุคคลทำ
ไว้ก่อน ชื่อว่า ปกตูปนิสสยะ ที่ชื่อว่า ปกตะ (สิ่งที่เคยทำมาแล้ว)
ได้แก่ธรรมที่ศรัทธาและศีลเป็นต้น ที่บุคคลให้สำเร็จแล้วในสันดาน
ของตน หรือฤดูและโภชนะเป็นต้น ที่บุคคลเข้าไปเสพแล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง อุปนิสสัยโดยปกตินั่นเอง ชื่อว่า ปกตูปนิสสยะ.
อธิบายว่า เป็นปัจจัยที่ไม่ปนกัน
อารัมมณปัจจัย และ อนันตรปัจจัย
จริงอยู่ ผู้ศึกษาพึงทราบประเภทมีประการมิใช่น้อย แห่งปกตูป-
นิสสยนั้น โดยนัยเป็นต้นว่า ที่ชื่อว่าปกทูปนิสสัย ได้แก่บุคคลเข้าไปอาศัย
ศรัทธา จึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทำฌาน วิปัสสนา
มรรค อภิญญา สมาบัติให้เกิดขึ้น เข้าไปอาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา
จึงให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ (และ)
ปัญญา เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย แก่ศรัทธา ศีล สุตะ
จาคะ (และ) ปัญญา ธรรมมีศรัทธาเป็นต้นเหล่านั้น อันบุคคลทำไว้ก่อน
ด้วย ชื่อว่าเป็นอุปนิสสัย เพราะอรรถว่า เป็นเหตุมีกำลังด้วย เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ปกตูปนิสสยะ ด้วยประการฉะนี้ แล.

10. ปุเรชาตปัจจัย


ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยการเกิดขึ้นก่อนกว่า แล้วยังเป็นไปอยู่
ชื่อว่า ปุเรชาตปัจจัย.
ปุเรชาตปัจจัย นั้น มี 11 อย่าง ด้วยอำนาจวัตถุ อารมณ์ และ
หทัยวัตถุในปัญจทวาร เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า จัก-
ขายตนะเป็นปัจจัย แก่จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุ-
วิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย ฯ ล ฯ กายายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยการวิญญาณธาตุนั้น
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย, รูปายตนะ ฯ ล ฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ ฯ ล ฯ กายวิญญาณธาตุและธรรมที่สัมปยุตด้วย
กายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย, รูปายตนะ ฯ ล ฯ โผฏ-
ฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย. มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใด
เป็นไป รูปนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุและธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย บางครั้งเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และ
ธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย
บางครั้งก็ไม่เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

11. ปัจฉาชาติปัจจัย


อรูปธรรมเป็นธรรมช่วยอุปการะโดยอรรถว่า ค้ำจุนแก่รูปธรรม